วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

blog ของ มิ้น สุปราณี บัววัฒน์

นางสาว สุปราณี บัววัฒน์    554552163

สาขา วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ชั้นปีที่ 2   คระ วิทยาการจัดการ

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การออกกำลังกายและบริหารร่างกายสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

การออกกำลังกายและบริหารร่างกายสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

การบริหารร่างกายในขณะใช้คอมพิวเตอร์

  1. Deep Breathing หรือการทำสมาธิ
  • Deep Breathing หรือการทำสมาธิ
  • ขณะยืนหรือนั่ง
  • มือข้างหนึ่งวางไว้บนท้อง อีกครั้งหนึ่งวางไว้บนอก
  • หายใจเข้าทางจมูก
  • กลั้นไว้ 4 วินาที
  • หายใจออกทางปาก
  • ทำซ้ำๆกัน
  1. Sidebend: Neck Stretch การยืดกล้ามเนื้อคอ
  • การยืดกล้ามเนื้อคอ
  • เอียงคอไปด้านข้าง (เคลื่อนหัวให้หูไปเข้าใกล้ไหล่)
  • ค้างไว้ 15 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำอีกข้าง

  1. Diagonal Neck Stretch การยืดกล้ามเนื้อคอ
  • หน้าตั้งตรง ค่อยๆก้มหน้ามองกระเป๋า
  • ค้างไว้ 15 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำข้างละ 3 ครั้ง
  1. Shoulder Shrug ขยักไหล่
  • ขยับไหล่ขึ้นเข้าหาหูค้างไว้ 3 วินาที
  • หมุนหัวไหล่
  • ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  1. Executive Stretch
  • นั่ง มือประสานไว้หลังศีรษะ
  • ดึงข้อศอกไปข้างหลังให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • หายใจเข้าลึกๆ เอนตัวไปข้างหลัง
  • ค้างไว้ 20 วินาที
  • หายใจออกและผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำอีกหนึ่งครั้ง
  1. Foot Rotation ป้องกันโรคชั้นประหยัด
  • ขณะนั่ง หมุนข้อเท้าช้าๆ ทำซ้ำไปในทิศทางตรงกันข้าม
  • ทิศทางหนึ่งให้หมุน 3 ครั้ง
  • เท้าอีกข้างก็ทำเช่นเดียวกัน
  • ทำข้างละ 2 ครั้ง

  1. Wrist Stretch เหยียดข้อมือ
  • แขนเหยียดตรงไปข้างหน้า
  • ดึงมือเข้าหาตัวด้วยมืออีกข้าง ทั้งดึงขึ้นและดึงลง
  • ค้างไว้ 20 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำข้างละ 3 ครั้ง
  1. การนวดมือ

  • ขณะนั่งปล่อยมือข้างลำตัว สลัดมือลงอย่างช้า ทำบ่อยๆ
  • นวดผ่ามือด้วยนิ้วมือทั้งด้านในและด้านนอก ควรนวดก่อนทำงาน
  • นวดนิ้วมือโดยนวดจากโคนนิ้วไปเล็บ
ที่มา http://noot15.blogspot.com/2013/08/blog-post_1453.html

อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

อาหารบำรุงสายตา จะมีวิตามินเอ สารอาหารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารอาหารสำคัญในอาหารบำรุงสายตา วิตามินเอจะได้จากอาหารจำพวก ตับไก่ ตับหมู ไข่แดง ฟักทอง ฯลฯ สำหรับสารอาหารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) นั้นเหมาะสำหรับคนที่ห่วงใยสุขภาพสายตาอย่างจริงจังและคนที่ทำงานโดยใช้สายตามากเช่น คนที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆในแต่ละวันหรือต้องทำงานอยู่กลางแจ้งที่มีแสงแดดจ้า คนที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อยๆที่มักจะถูกแสงไฟรถที่วิ่งสวนมาสาดเข้าตาบ่อยๆในลักษณะเดียวกับแสงไฟแฟลชจากกล้องถ่ายรูปทำให้สายตาต้องทำงานหนักเมื่อเจอแสงสว่างในลักษณะนี้ สารอาหารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)นั้นจะอยู่ในจุดรับภาพของดวงตาคนเรา สารอาหารทั้งสองตัวนี้จะช่วยกรองแสงหรือป้องกันรังสีที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา นอกจากนี้ลูทีน(Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin)ยังช่วยปกป้องไม่ให้เซลล์ของจอประสาทตาถูกทำลาย ดังนั้นการบำรุงรักษาสายตาทำได้โดยรู้จักเลือกกินอาหารที่มีสารลูทีน(Lutein)และซีแซนทีน(Zeaxanthin)อยู่เพื่อประโยชน์ในการบำรุงสายตาการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาให้มีสุขภาพดี นอกจากจะรู้จักเลือกกินอาหารบำรุงสายตาที่มีสารลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และวิตามินเอแล้วยังมีสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของสายตานั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาในการทำงานเช่น ใช้แผ่นกรองแสงกับจอคอมพิวเตอร์และปรับลดระดับแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ให้พอเหมาะอย่าให้สว่างจ้ามากเกินไป เมื่อทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆเป็นเวลานานให้รู้จักหยุดพักสายตาบ้างสัก 3-5 นาทีแล้วค่อยกลับไปทำงานต่อ เมื่อต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานควรสวมแว่นกันแดดเพื่อลดปริมาณแสงที่จะเข้ามายังตาของเรา
ที่มา http://www.student.chula.ac.th/~53373133/eyesfood.htm




การดูแลสุขภาพดวงตา กับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์

การดูแลสุขภาพดวงตา ควรมีการพักสายตาหลังจากใช้สายตาติดต่อกันระยะเวลานาน ๆ มี 2 วิธีง่าย ๆ คือ
1.หลับตาสักครู่ หรือจะใช้มือคลึงเบา ๆ ด้วยก็ได้
2.ให้พักสายตาโดยมองออกไปไกล ๆ เกินกว่า 6 เมตรขึ้นไป โดยเลือกมองบริเวณที่มีต้นไม้สีเขียวหรือวัตถุสีเขียวธรรมชาติ จะทำให้สายตาได้รับการพักผ่อนได้มากยิ่งขึ้น
การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ มี 5 วิธี ง่ายๆคือ
1. อย่าลืมกระพริบตา
เวลานั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ อย่าลืมกระพริบตา เพราะการพริบตาจะช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยงไม่ให้ดวงตาแห้ง หลายปัญหาเกี่ยวกับดวงตาก็เกิดจากการ นั่งหน้าจอคอมฯ นานๆ โดยไม่มีการกระพริบตา ดังนั้นอย่าลืมกระพริบตา หรือเพ่งเล็งหน้าจอคอมฯ นานเกินไป
2. อย่าลืมดื่มน้ำ
เป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้วว่าน้ำนั้นมีความสำคัญกับร่างกายของคนเรา ยิ่งมีการทำงานที่ต้องใช้สมองและร่างกายด้วยแล้ว น้ำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมันจะทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย อย่างเช่น สมอง ดังนั้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นอย่าลืมดื่มน้ำกันนะจ๊ะ
3. อย่าลืมว่าคุณนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง
หลายครั้งหลังจากการทำงานแล้ว หลายคนรู้สึกปวดเมื่อยร่างกายโดยเฉพาะส่วนหลังหรือต้นคอ เหตุผลส่วนหนึ่งคงหนีไม่พ้นจากการนั่งทำงานในท่าที่ผิด ตัวอย่างเช่น การนั่งเอนหลังมากเกินไป ซึ่งเป็นการนั่งไม่ถูกต้อง การนั่งในลักษณะนี้นอกจากจะทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกายแล้ว ยังลดประสิทธิภาพในการทำงานของเราด้วย ท่านั่งที่ถูกต้องคือการนั่งตัวตรง หากนั่งอยู่หน้าจอคอมฯ เพื่อพิมพ์งานต่างๆ ควรให้คีย์บอร์ดและเม้าส์อยู่ในระดับที่พอเหมาะกับแขนและมือที่ยื่นออกไป ไม่สูง ต่ำ หรือ ไกลจากตัวเรามากนัก แค่นี้ก็ช่วยไม่ให้ปวดเมื่อยได้พอสมควร
4. อย่าลืมทำความสะอาด
ความสะอาดก็มีส่วนสำคัญที่ไม่ควรปล่อยปละละเลย หากคุณเห็นฝุ่นตามอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือในห้อง ควรทำความสะอาดให้หมดจดเพื่อสุขภาพที่ดีในการทำงาน เพราะฝุ่นละอองเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งเชื้อโรคหรือแบคทีเรียต่างๆ ที่จะส่งผลให้คุณมีโรคภัยไข้เจ็บได้ และที่สำคัญมันยังลดบรรยากาศการทำงานในห้องของคุณด้วย
5. อย่าลืมลุกขึ้นจากเก้าอี้บ้าง
ไม่ว่าคุณจะมีเหตุผลที่ต้องทำงานหนักและต้องนั่งนานแค่ไหน ก็ไม่ควรที่จะลืมลุกขึ้นจากเก้าอี้บ้าง เดินผ่อนคลายยืดเส้นยืดสาย หรือสามารถนั่งบนเก้าอี้ไปพร้อมกับยืดเส้นยืดสายไปด้วยก็ได้ เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียน ส่งผลให้คุณมีความสามารถหรือประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น มันช่วยได้จริงๆ นะ แถมยังผ่อนคลายไม่ให้ตึงเครียดมากเกินไปได้อีกด้วย
วันนี้เรามีวิธีดูแลสุขภาพ กับการทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวันกันค่ะ สิ่งที่จำเป็นทีสุดคือดวงตา ที่ต้องจ้องคอมทั้งวัน การดูแลสุขภาพดวงตา ถนอนดวงตา ได้ด้วยวิธีนี้ค่ะ


ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ

ภัยเทคโนโลยี มีผลต่อสุขภาพ
ปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย ทั้งเล่นเกม พิมพ์งาน เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาไม่หยุดนิ่ง กิจกรรมข้างต้นสามารถทำผ่านช่องทางอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แน่นอนว่า อุปกรณ์ที่ทันสมัยหากใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสม แทนที่จะเกิดประโยชน์ ก็อาจเกิดโทษได้

เริ่มจาก นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การทำกิจกรรมอะไรก็ตามเกี่ยวกับเทคโนโลยีจอใหญ่ จอเล็ก ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต การนั่งนาน ๆ จ้องนาน ๆ ไม่พ้นเป็นภาระดวงตา นิ้ว มือ แขน ไหล่ หลัง ก้น และขา ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น เยาวชน วัยกลางคน ผู้สูงอายุ หลายคนจะฝืนเพื่อความอยากรู้ อยากเห็น ด้วยความเพลิดเพลินทางอารมณ์ ต้องการรู้เหนือผู้อื่น ต้องการเป็นหนึ่งว่าข้าแน่ รู้ทุกอย่างที่คนอื่นไม่รู้ เพื่อจะเด่นในอาชีพ วิชาชีพของตนเอง จึงเป็นที่มาของโรคเงียบซึ่งเป็นภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผลกระทบด้านร่างกาย คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดวงตา และโรคทางกล้ามเนื้อ กระดูก ซึ่งจะทำให้มีโรคประจำตัวไปจนกระทั่งแก่เฒ่า และทำให้เป็นทุกข์ตลอดชีวิต

โรคเกี่ยวกับดวงตา การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บ เล็ต เป็นเวลานาน ถ้าระดับที่วางความสว่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อระบบของการกลอกตา ระบบกล้ามเนื้อและประสาท ซึ่งจะเกิดหลังจากใช้สายตานานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการดวงตาล้า ดวงตาตึงเครียด ตาช้ำ ตาแดง แสบ

ข้อแนะนำ คือ ควรใช้เวลาทำงานหรือเล่นกับคอมพิวเตอร์ 25–30 นาที ในแต่ละช่วงและพัก 1–5 นาที จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น วางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากตาประมาณ 20–26 นิ้ว วางคีย์บอร์ดและเมาส์ให้อยู่ต่ำกว่าศอก แสงไฟไม่ควรส่องจากด้านหลัง ที่สำคัญไม่ควรส่องเข้าหาจอคอมพิวเตอร์ ควรปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีความสว่างเท่ากับความสว่างของห้อง ปรับความถี่ของคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับ 70–80 เฮิรตซ์ หรือปรับให้สูงสุดเท่าที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ยังรู้สึกสบายตา การใช้ตัวหนังสือควรใช้ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาว ใช้แผ่นกรองแสง และดูแลหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้มีฝุ่นเกาะติด เพื่อทำให้การมองเห็นชัดเจน ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือเล่นเกม ส่วน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ก็ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักสายตาเป็นระยะเช่นเดียวกัน
ที่มา http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539363059&Ntype=41


ที่มา http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539363059&Ntype=41

ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย มี 10 ประการดังนี้
1.เข้าเว็บไซต์ Office Update เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงและ Patch ต่างๆ
2.ห้ามเปิดอีเมลหรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ให้ใช้ประโยชน์จากตัวกรองอีเมลขยะที่ยอดเยี่ยมของ Outlook 2003 เพื่อส่งอีเมลที่น่าสงสัยตรงไปยังโฟลเดอร์อีเมลขยะของคุณ
3. ใช้ Windows Security Centre ในการตั้งค่า ดูข้อมูลอย่างชัดเจนของการตั้งค่าการรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ของคุณ ที่รวมข้อมูลทุกอย่างไว้ในจอภาพเดียวใน Windows Security Centre โดยคุณสามารถปรับแต่งระดับการป้องกันได้ตามความเหมาะสมสำหรับการใช้งานของ คุณ 
4. เข้ารหัสข้อมูลที่มีความสำคัญใน เครื่องแล็ปท็อปของคุณหากคุณเดินทางเพื่อทำธุรกิจและใช้เครื่องแล็ปท็อปที่ รันด้วย Windows 2000 Professional หรือ Windows XP Professional ให้ทำการป้องกันการโจรกรรมข้อมูล 
5. ดาวน์โหลดไฟล์ทางอินเทอร์เน็ตเฉพาะจากแหล่งข้อมูลที่ไว้ใจได้เท่า นั้น หากคุณไม่แน่ใจว่าไฟล์ที่กำลังจะดาวน์โหลดมีความปลอดภัยหรือไม่ ให้ดาวน์โหลดไฟล์เหล่านั้นลงในดิสก์ที่แยกต่างหากจากฮาร์ดดิสก์
6. ใช้ระบบเข้ารหัสที่ใช้รหัสผ่านเพื่อ ป้องกันไฟล์ในโปรแกรม Office เทคโนโลยีการเข้ารหัสที่ปรับปรุงใหม่ทำให้การรักษาความปลอดภัยด้วยรหัสผ่าน มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
7. ล้างข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของคุณก่อนกำจัดทิ้ง หากคุณได้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คเครื่องใหม่มาและกำลังจะทิ้งเครื่องเก่าไป ให้ตรวจสอบว่าคุณได้ลบข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญทิ้งแล้ว ก่อนที่จะกำจัดเครื่องดังกล่าวทิ้ง
8. ใช้ไฟร์วอลล์ หากบริษัท ของคุณใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตชนิดบรอดแบนด์ที่เชื่อมต่อตลอดเวลาอยู่ ให้ติดตั้งไฟร์วอลล์ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันขั้นพื้นฐานสำหรับป้องกันผู้ บุกรุกจากภายนอก
9. ไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์ในการท่องเว็บ เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์เป็นศูนย์บัญชาการของเครือข่ายทั้งหมดของคุณ จึงเป็นที่เก็บข้อมูลทางธุรกิจที่มีความสำคัญ หากเซิร์ฟเวอร์ของคุณถูกบุกรุก ข้อมูลทั้งหมดตลอดจนเครือข่ายทั้งหมดของคุณก็จะได้รับอันตรายด้วย
10. ใช้รหัสผ่านอย่างชาญฉลาด ใช้รหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาเสมอ โดยมีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษรและมีตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลขและสัญลักษณ์ผสมกัน อย่าใช้รหัสผ่านตัวเดียวกันซ้ำๆ กันตลอดเวลา
ที่มา http://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=9318



ที่มา http://nniwat.wordpress.com/2010/10/27/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87/

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและ Social Network

ในปัจจุบันการใช้ Social Network นับเป็นการสื่อสารหรือสังคมออนไลน์ที่เริ่มมีความนิยมมากขึ้น ดังนั้นการใช้สื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสารประเภทนี้  จึงต้องให้ความสำคัญและควรตระหนักอยู่เสมอถึงความระมัดระวังในการใช้ Social Network  ว่าเราควรใช้กันอย่างไรถึงจะปลอดภัย 
- ไม่ควรระบุข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป 
      ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญเหล่านี้ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการระบุตัวตนที่สำคัญอันหนึ่งทีเดียว ควรพึงระวังอย่างยิ่ง หากเราเปิดเผยข้อมูลมากเท่าไหร่ ภัยร้ายก็จะเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นเท่านั้น อีกเรื่องที่สำคัญคือการระบุ วันเดือน ปี เกิด ทำให้เด็ก ๆ วัยรุ่นที่มีอายุน้อย ๆ ก็จะสามารถถูกล่อลวงได้ง่ายและเป็นจุดที่มิจฉาชีพสนใจ  
- ไม่ควร post ข้อความที่ชี้ชวนให้มิจฉาชีพเข้าถึงเรา 
       เช่น บอกสถานะว่าไม่อยู่บ้านวันไหน เมื่อไหร่ เมื่อไรก็ตามที่จะเดินทางไปพักผ่อนไม่ว่าไกลแค่ไหน ก็ไม่ควรบอกข้อมูลล่วงหน้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ไม่หวังดีอาจวางแผนมาทำร้ายบุคคล หรืออาจวางแผนมาขโมยทรัพย์สินเราได้  และถือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มิจฉาชีพที่ไม่หวังดีกับเราติดตามพฤติกรรมของเราได้ 
- ไม่ควรไว้ใจหรือเชื่อใจคนที่รุ้จักผ่านอินเทอเน็ต 
    เนื่องจากมีตัวอย่างการที่โดนล่อลวงผ่านการรุ้จักผ่าน Social Network หรือถูกหลอกเรื่องการซื้อขายผ่าน internet ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อของคุณ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่บ้าน หรือชื่อสถานศึกษาให้กับคนที่ไม่รู้จักหรือการไว้ใจ เชื่อใจคนแปลกหน้าที่รู้จักกันผ่านอินแทอร์เน็ตอาจเป็นอันตรายได้ เพราะอาจถูกหลอก หรือล่อลวงไปทำอันตรายได้ ดังนั้นไม่ควรไว้ใจบุคคลที่รู้จักทาง Social Network 


อธิบาย สปายแวร์คอมพิวเตอร์ (Spyware)

Spyware คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย  และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำ

ให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย 
ที่มา http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2030-spyware-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

Spyware คืออะไร

ที่มา http://www.antivirus.memysoft.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA/spyware-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3/

อธิบาย ม้าโทรจันคอมพิวเตอร์ (Trojan)

ม้าโทรจัน (อังกฤษTrojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์


อธิบาย หนอนคอมพิวเตอร์ (Wrom)

หนอนคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เวิร์ม(computer worm) หรือบางทีเรียกกันว่าเวิร์ม คือหน่วยย่อยลงมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ปกติแล้ว หนอนคอมพิวเตอร์จะแพร่กระจายโดยไม่ผ่านการใช้งานของผู้ใช้ โดยมันจะคัดลอกและกระจายตัวมันเองข้ามเครือข่าย เช่น ระบบเครือข่าย หรืออินเทอร์เน็ต เป็นต้น หนอนคอมพิวเตอร์สามารถทำลายข้อมูลและแบนด์วิทสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์รวมไปถึงการทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงาน
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A
%E0%B8%A3%E0%B9%8C



ที่มา http://areerutanne.blogspot.com/

อธิบาย ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus)

ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมพิเศษชนิดหนึ่งที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้จัดการกับตัวมันเอง โดยมีลักษณะเลียบแบบสิ่งมีชีวิต คือ เจริญเติบโตเองได้ ขยายและแพร่กระจายเองได้ สามารถอยู่รอดได้ โปรแกรมนี้เข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยผ่านทาง
  • แผ่นฟลอปปีดิสก์
  • เครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากการที่ไวรัสคอมพิวเตอร์ ทำงานได้ด้วยเงื่อนไขลักษณะใดลักษณะหนึ่งหลายลักษณะ จึงทำให้ผู้ใช้ไม่รู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนติดไวรัสหรือไม่ พอเปิดเครื่องใช้ก็อาจพบว่าระบบคอมพิวเตอร์ของตนถูกไวรัสทำลายเสียแล้ว ไวรัสบางตัวไม่เพียงทำลาย ลบ ล้าง ย้ายข้อมูลของเรา โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น แต่ยังสามารถทำลายโปรแกรมอื่น ๆได้อีกด้วยโดยสังเกตได้จากการที่หน้าจอแสดงผลโดยอาการแปลก ๆ
ที่มา http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_11.htm



ที่มา http://www.lampang.go.th/db_lap/mtn/virus_i.html

อธิบาย บริการจาก Google และยกตัวอย่าง (10 บริการ)

อธิบาย บริการจาก Google ยกตัวอย่าง 10 บริการ
Google AdWords https://adwords.google.com/select/
Google AdSense https://www.google.com/adsense/ 
Google Analytics http://google.com/analytics/ 
Google Answers http://answers.google.com/ 
Google Base http://base.google.com/ 
Google Blog Search http://blogsearch.google.com/ 
Google Bookmarks http://www.google.com/bookmarks/ 
Google Books Search http://books.google.com/ 
Google Calendar http://google.com/calendar/ 
Google Catalogs http://catalogs.google.com/ 


ที่มา http://www.stat.rmutt.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=76:google&catid=37:researchaart&Itemid=86

babble_191105316945_640x360

ที่มา http://specphone.com/web/%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD-google-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD-babel/61161#.UhdJ49KqmEU

อธิบาย Socail Netwrok และยกตัวอย่างWebหรือApplication (10 ตัวอย่าง)

Social Network คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกัน ผ่านInternet ซึ่งเป็นเว็บไซต์ช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ โดยเลือกได้ว่าต้องการรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร ก็ได้
ตัวอย่าง
1.Hi5
2.Facebook
3.MySpace.com
4.twitter
5.Friendster
6.Orkut
7.Bebo
8.Multiply
9.Flickr
10.Odoza

อธิบาย Homepage/ Webpage/Website/Web Brower

Homepage โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีก
  Web Page   คือ สารสนเทศ หรือเอกสารที่อยู่บน อินเตอร์เน็ต  Web Page จะเขียนด้วยภาษา  HTML(Hyper Text Markup Language) ซึ่งจะกำหนดให้ มีเนื้อหาและรูปแบบต่างๆ   เช่น    ข้อความ   รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบ   (video  &  audio files)  hypertext links   เป็นต้น
 Web Siteคือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น
web browser เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ที่มา http://www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/66-server-hosting/1849-web-browser-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-web-browser-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD.html

browser apps

ที่มา http://browser.iyogi.com/editors-pick/apps-check-internet-history-all-browsers.html



อธิบายการใช้งานทั่วไปของ Email

อธิบายการใช้งานทั่วไปของ Email
E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง

ที่มา http://support.tarad.com/help/2244


ที่มา http://pattama4321.blogspot.com/2013/04/1.html

อธิบาย Search engine และยกตัวอย่างมา (10 Web Search engine)

 Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดยกรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ 
ตัวอย่าง
1.Google
2.Yahoo
3.MSN
4.Live
5.Search
6.Technorati
7.AltaVista
8.Sanook
9.Thaiseek
10.Siamguru
ที่มา http://krukoon.wordpress.com/2010/04/19/search-engine-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

SEO

ที่มา http://www.norasath.com/2011/seo-beginer



อธิบาย Web Application

อธิบาย Web Application

นั้นหมายความว่า เว็บแอปพลิเคชัน คือ แอปพลิเคชันที่เข้าถึงด้วยเว็บเบราว์เซอร์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่าง อินเทอร์เน็ต หรือ อินทราเน็ต เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัตเด็ต และดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่าย และติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Online auction กระดานสนทนา บล็อก วิกิ เป็นต้น

ที่มา http://arare-ict.blogspot.com/2008/03/web-application-versus-web-service.html



ที่มา http://sirilak156.wordpress.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2/

อธิบายความเป็นมาของ Internet จาก อดีต-ปัจจุบัน

อธิบายความเป็นมาของ Internet จาก อดีต-ปัจจุบัน

พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้าน คอมพิวเตอร์ เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา มีคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ต่อมาเกิดระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย และมีแนวโน้มการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราสามารถแบ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ และ ยุคที่เครื่องคอมพิวเตอรืเป็นอุปรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์

ที่มา http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/past/index.html




ที่มา http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/past/index.html

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารแบบไร้สาย เป็นอย่างไร

  • สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)จะประกอบด้วยสายทองแดงสายคู่บิดเกลียว (twisted pair) แต่ละคู่สายทองแดงจะถูกพันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ถึง 10 Hz หรือ 10 Hz เช่น สายคู่บิดเกลี่ยว 1 คู่ จะสามารถส่งสัญญาณเสียงได้ถึง 12 ช่องทาง สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่วนสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี แล้วน้ำหนักเบาง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างคือ สายโทรศัพท์ สายแบบนี้มี 2 ชนิดคือ
  • สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair :UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นดังรูป mำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก

  • สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน

  • สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)ประกอบด้วยสายทองแดงมีฉนวนที่หุ้มด้วยฉนวนโลหะอย่างหนาอยู่ด้านนอก สายโคแอกถูกใช้เป็นสายโทรทัศน์ ฉนวนของสายโคแอกจะช่วยป้องกันการรบกวนทางไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีกว่าสายคู่ตีเกลียว นอกจากนั้นยังสามารถนำเสียงและข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง 200 Mbps การส่งข้อมูลผ่านสายโคแอกมีวิธีพื้นฐาน 2 วิธี ได้แก่
  • การส่งแบบเบสแบนด์ (baseband transmission)เป็นการส่งแบบอนาล๊อก และสายหนึ่งเส้นสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณเท่านั้นในเวลาเดียวกัน
  • การส่งแบบบรอดแบนด์ (broadband transmission)เป็นการส่งแบบดิจิทัล และสายหนึ่งเส้นสามารถส่งสัญญาณไปได้หลายสัญญาณในเวลาเดียวกัน


  • สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber Cable)เส้นใยนำแสง (fiber optic) เป็นการใช้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเธอร์เน็ตจะใช้ได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิต ถ้าใช้กับ FDDI จะใช้ได้ด้วยความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิต เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร ระยะความยาวของเส้นใยนำแสงแต่ละเส้นใช้ความยาวได้ถึง 2 กิโลเมตร เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก เส้นใยนำแสงนี้จะมีบทบาทมากขึ้น เพราะมีแนวโน้มที่จะให้ความเร็วที่สูงมาก

  • การสื่อสารแบบใช้สาย เป็นอย่างไร

    การสื่อสารแบบใช้สาย

    1. สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็นสายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน มี 2 แบบ คือ แบบหนา (thick) และแบบบาง (thin) โดยมากใช้กับสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) ซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง ในลักษณะที่ไม่ต้องมีอุปกร์รวมสาย เช่น ฮับ เข้ามาช่วย แต่ปัจจุบันเริ่มใช้กันน้อยลงเพราะถูกทดแทนด้วยสายแบบ UTP ซึ่งราคาถูกและมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ดีกว่า

    2. สายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนหรือ UTP (Unshielded Twisted-Pair) เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์ แต่มี 8 เส้น ตีเกลียวเป็นคู่ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวน แต่ไม่มีเปลือกที่เป็นโลหะถัก (shield) หุ้มเหมือนสายโคแอกเชียล จึงมีขนาดกระทัดรัดกว่า แต่ลักษณะการเดินสายจะต้องต่อจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือฮับเท่านั้น ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุด เพราะมีราคาถูก ติดตั้งง่าย รวมทั้งสามารถรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความเร็วสูง เช่น 1,000 Mbps หรือเกินกว่านั้น ได้

    3. สายคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวนหรือ STP (Shielded Twisted-Pair) เป็นสายคู่เล็กๆ ตีเกลียวไขว้กันแบบสาย UTP แต่มีฉนวนหรือเปลือกหุ้มที่เป็นโลหะถัก เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนในแบบเดียวกับสายโคแอกเชียล ถูกนำมาใช้ในกรณีที่เชื่อมต่อเป็นระยะทางไกลเกินกว่าที่จะใช้สาย UTP ได้ หรือใช้กับเครือข่าย LAN แบบ Token-Ring แต่ก็ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก

    4. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นสายที่ใช้กับการส่งสัญญาณด้วยแสง ซึ่งจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษโดยเฉพาะ มีข้อดีตรงที่ส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่มีปัญหาสัญญาณรบกวน แต่มักใช้ในกรณีที่เป็นโครงข่ายหลักเชื่อมระหว่างเครือข่ายย่อย ๆ มากกว่า เช่นในเครือข่ายแบบ FDD (Fiber Distributed Data Interface) ปัจจุบันมีใช้ในระบบเครือข่ายอีเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ Gigabit Ethernet ด้วย
    ที่มา  http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_media2.htm

    องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

    องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
     
    การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง

    1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
     2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
    3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ

    4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
    4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
    4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
    4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ

    ที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_datacom2.htm




    ที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_datacom2.htm




    ความหมายของ Internet

    อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

    ที่มา  http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page21.htm



    ที่มา  http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page21.htm

    ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น  

     การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices)  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม

     การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน

      สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน

     ความประหยัด นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน


     ความเชื่อถือได้ของระบบงาน
    นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน


    ที่มา  http://blog.eduzones.com/banny/3478


    ที่มา  http://blog.eduzones.com/banny/3478

    ความหมายของคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ และทำการประมวลผล โดยทำการเปรียบเทียบจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงผลที่อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพหรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
    ที่มา  http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-5930.html
     

     

    วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

    ประโยชน์ ICT ด้านการทหาร

    ด้านการทหารและตำรวจ

    มีการใช้คอมพิวเตอร์ด้านการทหารและตำรวจ อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมากกว่า ประเทศอื่นใดในโลก แต่ผลงานด้านนี้มักจะเป็น ผลงาน ชนิดลับสุดยอดต่าง ๆ เท่าที่พอจะ ทราบกัน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในวงจรสื่อสารทหาร ใช้ในการควบคุม ประสานงาน ด้านการท หารใช้แปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ ใช้ในการผลิตระเบิดนิว เคลียร์ ใช้ในการทำสงครามจิตวิทยา ใช้ในการวิจัยเตรียมทำสงครามเชื้อโรค ใช้ในการสร้างขีปนาวุธ และใช้ในการส่ง ดาวเทียม จารกรรม เป็นต้น กรมตำรวจ กระทรวง มหาดไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ มีคอมพิวเตอร์ ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำให้เกิดความสะดวกต่อการสืบสวนคดีต่าง ๆ
    ที่มา http://blog.eduzones.com/moobo/78858

    banner

    ที่มา http://jitnapabecky.wordpress.com/2013/02/25/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%91/

    ประโยชน์ของ ICT ด้านธุรกิจและเศรษฐกิจ

    ด้านอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนบนของมนุษย์ ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหุ่นยนต์ ระบบควบคุมนี้ทำหน้า ที่เป็นสมองเก็บข้อมูลสั่งหุ่นยนต์ ให้ทำงานตรวจสอบและควบคุมรายละเอียดของการทำงาน ให้ถูกต้อง การประดิษฐ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอำนวยประโยชน์ในการช่วยทำงานใน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ งานที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงานยา ฆ่าแมลง โรงงานสารเคมี ง านที่ต้องการความละเอียด ถูกต้อง และรวดเร็ว เช่น โรงงาน ทำฟันเฟืองนาฬิกา โรงงานทำเลนส์กล้องถ่ายรูป และงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ และ น่าเบื่อหน่าย เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบวงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี และโรงงานทำแบตเตอรี่ เป็นต้น
    ที่มา http://blog.eduzones.com/moobo/78858
    ด้านธุรกิจการบิน ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว เพื่อการแข่งขันกับ สายการบินอื่น ๆ และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการบินโดยช่วยตรวจสอบสภาพเครื่องและอุปกรณ์ได้ อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ ธุรกิจที่มีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้ด้านการบิน อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้โดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และ บริการอื่น ๆ ของสายการบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือระบบบริการผู้โดยสาร อาจจะ เริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึง จำนวนที่นั่ง สารนิเทศด้านการบริการผู้โดยสารมีความสำคัญอย่างมาก และจำเป็นต้องได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากปัญหาทางด้านเวลา และสถานที่ รายการบินต่าง ๆ
    ที่มา http://blog.eduzones.com/moobo/78858


    ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการศึกษาและสังคม

    เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
    เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
    1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
    2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
    3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
    4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
    5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
     
     


    ที่มาของรูป http://mln401.blogspot.com/2013/06/blog-post_1.html#!/2013/06/blog-post_1.html

     

    ความหมายของการสื่อสาร

    ความหมายของการสื่อสาร หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ

    ที่มาของความหมาย http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter1-1.html



    ที่มาของรูป http://m2-4-24-02.blogspot.com/